วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันคริสต์มาส

ประวัติการประสูติพระเยซูเจ้า
          ในเวลานั้น จักรพรรดิออกัสตัส รับสั่งให้ราษฎรทุกคน ในอาณาจักรโรมัน ไปลงทะเบียนสำมะโน ประชากร โยเซฟและมารีย์ ซึ่งมีครรภ์แก่จึงต้องเดินทางไปยังเมืองเบธเลเฮม อันเป็นเมืองที่กษัตริย์ดาวิดประสูติ พอดีถึงกำหนดที่มารีย์จะคลอดบุตร เธอก็ได้คลอดบุตรชายหัวปี เธอเอาผ้าพันกายพระกุมารแล้ววางไว้ใน รางหญ้า เนื่องจากตามโรงแรมไม่มีที่พักเลย คืนนั้นทูตสวรรค์ของพระเจ้า ปรากฎแก่พวกเลี้ยงแกะ พวกเขาตกใจกลัวมาก แต่ทูตสวรรค์ปลอบพวกเขาว่า "อย่ากลัวไปเลย เพราะเรานำข่าวดีมาบอก คืนนี้เอง ในเมืองของกษัตริย์ ดาวิด มีพระผู้ช่วยให้รอดประสูติ พระองค์นั้นเป็นพระคริสต์พระเป็นเจ้า นี่จะเป็น หลักฐานให้พวกท่านแน่ใจคือ พวกท่านจะพบพระกุมารมีผ้าพันกาย นอนอยู่ในรางหญ้า" 
          ทันใดนั้น มีทูตสวรรค์อีกมากมาย ร้องเพลง สรรเสริญ พระเจ้าว่า Gloria in Excelsis Deo ขอเทิด พระเกียรติพระเจ้าผู้สถิตย์ในสวรรค์ชั้นสูงสุด สันติสุขบนพิภพจงเป็นของผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย
 

ทำไมจึงฉลองคริสต์มาสวันที่ 25 ธันวาคม
          ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ (ลก.2:1-3) บันทึกไว้ว่าพระเยซูเจ้าบังเกิด ในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ออกัสตัส ให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยมีคีรินิอัสเป็นเจ้าครองเมืองซีเรีย ซึ่งในพระคัมภีร์ไม่ได้บอกว่า เป็นวัน หรือเดือนอะไร แต่นักประวัติศาสตร์ให้เหตุผลว่า ที่คริสตชน เลือกเอาวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลองคริสต์มาส ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา เนื่องจาก ในปี ค.ศ. 274 จักรพรรดิเอาเรเลียน ได้กำหนดให้วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลอง วันเกิดของสุริยเทพผู้ทรงพลัง ชาวโรมันฉลองวันนี้อย่างสง่า และถือเสมือนว่าเป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะพระจักรพรรดิก็เปรียบเสมือน ดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์
          คริสตชนที่อยู่ในจักรวรรดิ โรมันรู้สึกอึดอัดใจที่จะฉลอง วันเกิดของสุริยเทพตามประเพณีของ ชาวโรมัน จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 330 จึงเริ่มมีการฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการ และอย่างเปิดเผย เนื่องจากก่อนนั้น มีการเบียดเบียนศาสนาอย่างรุนแรง (ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 64-313) ทำให้คริสตชนไม่มีโอกาสฉลองอะไรอย่างเปิดเผย

ความสำคัญของวันคริสต์มาส

          คริสต์มาส เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งวันหนึ่งในศาสนาคริสต์ มิใช่เป็นวันสำคัญฝ่ายร่างกายจัดงาน รื่นเริงภายนอกเท่านั้น ซึ่งเป็นแต่เพียงเปลือกนอกของการฉลองคริสต์มาส แต่แก่นแท้อยู่ที่ความรัก ของพระเจ้าที่ มีต่อโลกมนุษย์ นั่นคือ พระเจ้าทรงรักมนุษย์ มากจน ถึงกับยอมส่งพระบุตรแต่องค์เดียว ของพระองค์ ให้มาเกิดเป็น มนุษย์ มีเนื้อหนังมังสา ชื่อว่า "เยซู"
การที่พระเจ้าได้ถ่อมองค์และเกียรติลงมาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากการเป็นทาส ของความชั่ว และบาปต่างๆ นั่นเอง

          ดังนั้นความสำคัญของวันคริสต์มาสจึงอยู่ที่การฉลองความรักที่พระเจ้ามีต่อ โลกมนุษย์ อย่างเป็นจริง เป็นจัง และเห็นตัวตนในพระเยซูคริสต์ที่มาเกิดเป็นมนุษย์ มากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น 

ประวัติวันคริสต์มาส
          คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้า เรา เฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษ โบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซาเป็นประเพณีสำคัญที่สุดที่ชาวคริสต์ ถือปฎิบัติกันในวันคริสต์มาส คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรก ในเอกสารโบราณ เป็นภาษาอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1038 และคำนี้ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas คำทักทายที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry Christmas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุข และความสงบทางใจ
         เพราะฉะนั้นคำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบ ทางใจ เนื่องใน โอกาสเทศกาลคริสต์มาส ส่วนภาษาไทยใช้อวยพรด้วยประโยคว่า "สุขสันต์วันคริสต์มาส Merry Christmas "

การร้องเพลงคริสต์มาส
           เพลงคริสต์มาส เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้น มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นผู้แต่ง ร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีวิวัฒนาการใหม่ในด้านเพลงนี้ เริ่มในประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้มีส่วนในการสนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบ คือมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาสนี้ เพลงเหล่านี้เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles ในภาษาลาติน
          เพลงคริสต์มาส ที่เรานิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ เพลง Silent Night, Holy Night ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวันเสีย ทำให้วงขับร้อง ไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ คุณพ่อเองตั้งใจ จะแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ หลังจากแต่งเสร็จ ก็เอาไปให้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ ที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงใส่ทำนอง ในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดนี้ ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก






วันคริสต์มาส 25 ธันวาคม
          วันคริสต์มาส คือ การฉลองวันประสูติของพระเยซูผู้เป็นศาสดาสูงสุดของชาวคริสต์ทั่วโลก เป็นวันฉลองที่มีความสำคัญ และมีความหมายมากที่สุดวันหนึ่ง เพราะชาวคริสต์ถือว่า พระเยซูมิใช่เป็น แต่เพียงมนุษย์ธรรดาๆ ที่มาเกิดเหมือนเด็กทั่วไป แต่พระองค์เป็นบุตรของพระเจ้าผู้สูงสุด และมีพระธรรมชาติเป็น พระเจ้า และเป็นมนุษย์ในพระองค์เอง การบังเกิดของพระองค์ จึงเป็นเหตุการณ์ พิเศษ ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนด้วย  













เทียนและพวงมาลัย
          ในสมัยก่อนมีกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในเยอรมัน ได้เอากิ่งไม้มาประกอบเป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัย แล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้นในตอนกลางคืนของวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเตรียมรับเสด็จ ทุกคนในครอบครัวจะมารวมกัน ดับไฟ แล้วจุดเทียนเล่มหนึ่ง สวด ภาวนาและร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกัน เขาจะทำดังนี้ทุกอาทิตย์จนครบ 4 อาทิตย์ก่อนคริสต์มาส ประเพณีนี้เป็นที่นิยมและแพร่หลายในที่หลายแห่ง โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกา
          ซึ่งต่อมามีการเพิ่ม โดยเอาพวงมาลัยพร้อมกับเทียนที่จุดไว้ตรงกลาง 1 เล่มไปแขวนไว้ที่หน้าต่างเพื่อช่วย ให้คนที่ผ่านไปมา ได้ระลึกถึงการเตรียมตัวรับวันคริสต์มาสที่ใกล้เข้ามา และพวงมาลัยนั้นยังเป็นสัญลักษณ์ที่คน สมัยโบราณใช้หมายถึงชัยชนะ แต่ในที่นี้หมายถึงการที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างครบ บริบูรณ์ตามแผนการณ์ของพระเป็นเจ้า

การทำมิสซาเที่ยงคืน
          เมื่อพระสันตะปาปาจูลีอัสที่1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส) แล้วในปี นั้นเองพระองค์และสัตบุรุษได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม ยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติ
          พอไปถึงก็เป็นเวลาเที่ยงคืน พระสัน ตะปาปาก็ทรงถวายบูชา ณ ที่นั้น เมื่อเสร็จแล้วก็กลับมาที่พัก เป็นเวลาเช้ามืดราวๆ ตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และสัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ก็ยังมีสัตบุรุษหลายคนที่ไม่ได้ไป พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อ สัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติ ของพระองค์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมี ธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ใน โอกาสวันคริสต์มาสเช่นเดียวกัน
 ซานตาครอส

          ตัวจริงของซานตาครอส คือ นักบุญนิโคลัสซึ่งเป็นบาทหลวงในตุรกี ช่วงคริสต์ศตวรรษที่สี่ ผู้ขึ้นชื่อในเรื่องความใจดี โดยเฉพาะกับเด็กๆ ต่อมาท่านเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วฮอลแลนด์ในชื่อ "ซินเตอร์คลาส" ราวค.ศ.1870 ชาวอเมริกันเรียกชื่อเพี้ยนไปเป็น "ซานตาคลอส" ตั้งแต่แรกจนถึงค.ศ. 1890
          ภาพของซานตาคลอสเป็นชายร่างผอมสูงสวมชุดสีเขียว หรือน้ำตาลสลับแดง เจนนี ไนสตรอม ศิลปินชาวสวีเดน เป็นผู้คิดค้นรูปลักษณ์ของซานตาครอสอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน โดยวาดภาพลงในบัตรอวยพรคริสต์มาส ภาพเหล่านี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลกเมื่อชาวสวีเดนอีกคนหนึ่งชื่อ แฮดดอน ซันบลอม นำ ภาพวาดของไนสตรอมไปใช้ในการโฆษณา โคคา-โคล่า ในค.ศ. 1931 เนื่องจากซานตาคลอสของไนสตรอมสวมชุดขาวแดง อันเป็นสีเดียวกับเครื่องหมายการค้าของ โคคา-โคล่า นอกจากนี้ ซันบลอม ยังเปลี่ยนโฉมซานตาคลอส ให้มีทรวดทรงอ้วนท้วน และมีกวางเรนเดียร์เป็นพาหนะประจำตัว และในค.ศ.1822 คลีเมนต์มัวร์ นักคิดชาวอเมริกา ประพันธ์บทกลอนชื่อ “เมื่อนักบุญนิโคลัสมาเยือน” ก็เป็นจุดกำเนิดความคิดที่ว่าซานตาครอสเข้าบ้านทางปล่องไฟ

วันรัฐธรรมนูญ

    วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกคล้ายวันที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนชาวไทย

ความเป็นมา
          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาสิทธิราช ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ใช้กันมาเป็นเวลา ๗๐๐ ปีเศษ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของ ประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
          ๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
          ๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วยพระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ
          ๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
          ๔. รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
          จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์เป็นผู้บริหารประเทศ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว” สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร ทั้งหลายการใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
          ๑. พระมหากษัตริย์
          ๒. สภาผู้แทนราษฎร
          ๓. คณะกรรมการราษฎร
          ๔. ศาล
          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระ มหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์โดยได้รับความ ยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม
          กระทั่งถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็ มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ในส่วนเกี่ยวกับพระมหา กษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะ ละเมิดมิได้
          สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้ว ๕ ฉบับ ฉบับสุดท้ายคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘

รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
          เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จออกประทับพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งโปรดเกล้าฯให้จัดเป็นที่ประชุมรัฐสภา แล้วได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพระราชทานเป็น กฎหมายสูงสุดเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศ จึงได้ถือเป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติ มีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมางานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน
          ในการประกอบพระราชพิธีประจำปีนั้น ที่ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม ตั้งพระที่นั่งพุดตานสลักปิดทอง เชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ ๗ ขึ้นประดิษฐาน และเชิญฉบับรัฐธรรมนูญวางบนพานทองสองชั้นเข้าในมณฑลพิธีแวดล้อมด้วยต้นไม้ ทอง - เงิน พร้อมด้วยเครื่องนมัสการและที่ทรงกราบ
          เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไปยังพระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิตรถยนต์พระที่นั่งผ่านประตูทวยเทพสโมสร กองทหารเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเทียบรถยนต์พระที่นั่งที่บันได้ท้องพระโรง หลัง ณ ที่นี้ประธานรัฐสภารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน ขึ้นสู่ท้องพระโรงหลังซึ่งเป็นมณฑลพิธี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงศีล แล้วพระสงฆ์ ๑๕ รูป (พระสงฆ์ถือตามเกณฑ์เมื่อครั้งงานฉลองพระราชทานรัฐธรรมนูญปีแรก ขณะนั้นมี ๑๒ กระทรวง การปฏิบัติพระสงฆ์จึงมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประธานรัฐสภาพ นายกรัฐมนตรี และเสนาบดี ๑๒ กระทรวง จึงเป็น ๑๕ รูป) เจริญพระพุทธมนต์ มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่สมเด็จพระสังฆราช พระสงฆ์ นอกนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ประธานรัฐสภาถวายอดิเรก ถวายพระพรลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปประทับรถยนต์พระที่นั่งออกจากพระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อรถยนต์พระที่นั่งผ่านประตูทวยเทพสโมสร กองเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เสด็จพระราชดำเนินกลับ
          พระราชพิธีนี้แต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายช้างเผือก
          อนึ่งทางรัฐสภาได้ขอพระบรมราชานุญาติหล่อพระบรมราชานุสรณ์ไว้ที่หน้าตึก ประชุมสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์นี้ในพระราชพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราช กุศลที่พระที่นั่งอนันตสมาคม จะได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพุ่มดอกไม้และทรงจุดธูปเทียนถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ก่อน แล้วจึงเสด็จฯไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ก่อน แล้วจึงเสด็จฯ ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ รัฐบาลได้ประกาศเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์สำคัญของชาติ มีการถวายบังคมพระบรมรูปเป็นงานประจำ
          (คัดจากหนังสือศิลปวัฒนธรรมไทย เล่มที่ ๑ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม กรุงรัตนโกสินทร์)

วันพ่อแห่งชาติ

 วันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2555 ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ
ความหมาย ๑พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "พ่อ" ไว้ดังนี้
      -พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก. คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน

๒พุทธศาสน
า ได้ให้ความหมายชองคำว่า "พ่อ" หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น
     -บิดา (พ่อ)
     -ชนก (ผู้ให้กำเนิด)
      -สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น
 
ความเป็นมาของวันพ่อ วัน พ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์  เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม
 
หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดย ที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาว ไทยนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุก พระองค์ ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ ดังบทร้อยกรองเทิดพระเกียรติว่า
 
"อันราชาเลี้ยงรักษาซึ่งทวยราษฎร์  ประดุจเป็นปิตุราชอยู่ทุกเมื่อ
 
   ควรที่บุตรสุดรักจักจุนเจือ  พระคุณนั้นให้อะเคื้อด้วยภักดี"
 
และอีกบทหนึ่งเทิดพระเกียรติว่า
"ทุกบุปผามาลัยคือในราษฎร์  ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน
    พระคือบิดาข้าแผ่นดิน   ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร

ลุ ๕ ธันวามหาราช
 "วันพ่อแห่งชาติ" คือองค์อดิศร

พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน"

คณะกรรมการจัดงานวันพ่อแห่งชาติได้กำหนดให้ ดอกพุทธรักษา ดอกไม้ที่มีนามเป็นมงคลนี้เป็นสัญลักษณ์

วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ

 ๑.เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๒.เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม

๓.เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูต่อพ่อ

๔.เพื่อให้ผู้เป็นพ่อสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ลอยกระทง


ประวัติวันลอยกระทงและประเพณีลอยกระทง

การลอยกระทงมีวัตถุประสงค์ด้วยกัน 2 ประการ คือ
      1. เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางท้องที่ถือว่าลอยกระทงเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสที่พระพุทธองค์ได้ไปแสดงธรรมในนาคภิภพ และทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที (1) เพราะฉะนั้นการที่บ้านเรามีประเพณีลอยกระทง ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองก็เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสนี้
 
      ส่วนทางเหนือนั้นมีประเพณียี่เป็ง มีทั้งลอยกระทงและลอยโคมขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งบรรจุอยู่ในจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราจึงจุดประทีป ลอยโคม ส่งใจขึ้นไปบูชาพระเขี้ยวแก้วร่วมกับพระอินทร์ที่นำหมู่เทวดาบูชาพระเขี้ยวแก้วที่จุฬามณีในวันเพ็ญเดือนสิบสองนี้เช่นกัน

      ยี่เป็งสันทราย ได้จัดประเพณีลอยกระทง และลอยโคม ซึ่งเป็นภาพวัฒนธรรมไทยที่งดงามมากในสายตาของชาวโลก และยังได้มีการจัดลอยโคมที่มองโกเลีย และอินเดียเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่งใหญ่มาแล้วด้วย

      2. เพื่อบูชาพระแม่คงคา เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ เพราะมนุษย์เราอยู่ได้เพราะน้ำ ตั้งแต่โบราณมาชุมชนทั้งหลายเวลาสร้างเมือง ต่างก็เลือกติดแม่น้ำ ดังนั้นถึงเวลาในรอบ 1 ปี ก็เลือกเอาวันเพ็ญเดือนสิบสอง ระลึกว่าตลอดปีที่ผ่านมา เราได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต  ขณะที่ลอยกระทงเราก็นึกถึงคุณของน้ำ ไม่ใช่ลอยเฉยๆ ต้องรำลึกว่าต้องรู้จักใช้น้ำอย่างถูกวิธี และใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ไม่ใช้ทิ้งขว้าง  ไม่ทำให้น้ำสกปรก ไม่ปล่อยของเสียลงแม่น้ำ เป็นการขอขมาและขอบคุณพระแม่คงคา ไม่ใช่เป็นการไหว้เทวดาพระแม่คงคาแต่อย่างใด แต่เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ ในฐานะที่เป็นผู้ให้ชีวิตเรา
 

ความเป็นมาของเทศกาลวันลอยกระทง 
 

คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
 
1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทม สินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไป จำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทาน ทีเมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของ พระพุทธเจ้า
6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้อง ทะเลลึกหรือสะดือทะเล

ประวัติวันลอยกระทงในประเทศไทย

วันลอยกระทง 2554 
 
การลอยกระทงในประเทศไทยมีมาตั้วแต่ครั้งสุโขทัย 
 
      การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานทีซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแค้วนทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา
 

การลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท

 
      เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชจนได้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลังจากเผยพระธรรมคำสั่งสอนแก่สาธุชนโดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้งจำพรรษาจนครบ 3 เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์เมื่อท้าวสักกเทวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิตบันไดทิพย์ขึ้น อันมี บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร บันไดแก้วนั้นเป็นที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลง บันไดทองเป็นที่สำหรับเทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินสำหรับพรหมทั้งหลายส่งเสด็จ ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพและประชาชนทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันทำ การสักการบูชาด้วยทิพย์บุปผามาลัย การลอยกระทงตามคตินี้ จึงเป็นการรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพ (เป็นตำนานเดียวกับประเพณีการตักบาตรเทโวรับเสด็จพระพุทธองค์ลงจากดาวดึงส์) 

      รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ที่ไปปรากฏอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีมีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ คือ ครั้งหนึ่งพญานาคทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ พญานาคทูลขออนุสาวรีย์ไว้กราบไหว้บูชา พระพุทธองค์จึงทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีเพื่อให้บรรดานาคทั้งหลายได้สักการะบูชา
 
การลอยกระทงที่มีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ยังมีอีก 2 เรื่อง คือ
 
      1. การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ และ
      2. การลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธองค์ในวันที่เสด็จกลับจากเทวโลก
 

ตำนานการลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี

ลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี

การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี
     เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลากลางคืนด้วยม้ากัณฐกะ พร้อมนายฉันทะมหาดเล็กผู้ตามเสด็จ ครั้นรุ่งอรุณก็ถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที เจ้าชายทรงขับม้ากัณฐกะกระโจนข้ามแม่น้ำไปโดยสวัสดี เมื่อทรงทราบว่าพ้นเขตกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะจึงเสด็จลงประทับเหนือหาดทรายขาวสะอาด ตรัสให้นายฉันทะนำเครื่องประดับและม้ากัณฐกะกลับพระนคร ทรงตั้งพระทัยปรารภจะบรรพชา โดยเปล่งวาจา "สาธุ โข ปพฺพชฺชา" แล้ว จึงทรงจับพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ตัดพระเมาลี แล้วโยนขึ้นไปบนอากาศ พระอินทร์ได้นำผอบทองมารองรับพระเมาลีไว้และนำไปบรรจุยังพระจุฬามณีเจดียสถานในเทวโลก พระจุฬามณีตามปกติมีเทวดาเหาะมาบูชาเป็นประจำ 

ตำนานการลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลก 

       
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชจนได้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลังจากเผยพระธรรมคำสั่งสอนแก่สาธุชนโดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้งจำพรรษาจนครบ 3 เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์เมื่อท้าวสักกเทวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิตบันไดทิพย์ขึ้น อันมี บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร บันไดแก้วนั้นเป็นที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลง บันไดทองเป็นที่สำหรับเทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินสำหรับพรหมทั้งหลายส่งเสด็จ ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพและประชาชนทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันทำ การสักการบูชาด้วยทิพย์บุปผามาลัย การลอยกระทงตามคตินี้ จึงเป็นการรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพ (เป็นตำนานเดียวกับประเพณีการตักบาตรเทโวรับเสด็จพระพุทธองค์ลงจากดาวดึงส์) 

ประเพณีทอดกฐิน


ประเพณีทอดกฐิน
ประเพณีการทอดกฐิน ในแต่ละปีกำหนดให้มีการจัดทอดกฐินขึ้นภายใน ๑ เดือน หลังประเพณีออกพรรษา โดยวัดที่จะสามารถรับกฐินได้ ต้องมีพระภิกษุจำพรรษาโดยไม่ขาดพรรษาเลย ไม่ต่ำกว่า ๕ รูป และแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละ ๑ ครั้ง
การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน

กฐินแปลว่าอะไร? 
คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อนแล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มี ความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักรเย็บผ้า ในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตรพระมหาโมคคัลลานะพระมหากัสสปะแม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

ผู้ประสงค์จะทอดกฐินจะทำอย่างไร
พุทธศาสนิกชนทั่วไป ย่อมถือกันว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรง เพราะเป็นกาลทาน ทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งและต้องทำในกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ดังนั้นถ้ามีความเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐินบ้างแล้ว พึ่งปฏิบัติดังต่อไปนี้
จองกฐิน เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว พึงไปมนัสการสมภารเจ้าอาวาสวัดนั้น กราบเรียนแก่ท่านว่าตนมีความประสงค์จะขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่น ๆ ก็เพื่อให้ได้ทอดวัดที่ตนต้องการ หากมิเช่นนั้นอาจมีผู้อื่นไปจองก่อน นี้กล่าวสำหรับวัดราษฎร์ ซึ่งราษฎรมีสิทธิจองได้ทุกวัด แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง อันมีธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว ทายกนั้น ครั้นกราบเรียนเจ้าอาวาสท่านแล้ว ต้องทำหนังสือยื่นต่อกองสัมฆการีกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ขอเป็นกฐินพระราชทาน ครั้นคำอนุญาตตกไปถึงแล้ว จึงจะจองได้
เตรียมการ ครั้นจองกฐินเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกพรรษาแล้ว จะทอดกฐินในวันใด ก็กำหนดให้แน่นอน แล้วกราบเรียนให้เจ้าอาวาสวัดท่านทราบวันกำหนดนั้น ถ้าเป็นอย่างชนบท สมภารเจ้าวัด ก็บอกติดต่อกับชาวบ้านว่าวันนั้นว่านี้เป็นวันทอดกฐิน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาอาหารไว้เลี้ยงพระ และเลี้ยงผู้มาในการทอดกฐิน
ครั้นกำหนดวันทอดกฐินแล้ว ก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ ตามแต่มีศรัทธามากน้อย (ถ้าจัดเต็มที่มักมี 3 ไตร คือ องค์ครอง 1 ไตร คู่สวดองค์ละ 1 ไตร)
วันงาน พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น โดยมากจึงจัดงานเป็น 2 วัน วันต้นตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้ กลางคืนมีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้องและมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา รุ่งขึ้นเป็นที่วัดทอด ถ้าไปทางบก ก็มีแห่ทางขบวนรถหรือเดินขบวนกันไป มีแตรวงหรืออื่น ๆ เป็นการครึกครื้น ถ้าไปทางเรือก็มีแห่งทางขบวนเรือสนุกสนาน โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพล การทอดกฐิน จะทอดในตอนเช้านั้นก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ สุดแล้วแต่สะดวก การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหารเลี้ยงด้วย เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย อาหารมากมายเหลือเฟือ แม้ข้อนี้ ก็สุดแต่กาละเทศะแห่งท้องถิ่น
อนึ่ง ถ้าตั้งองค์กฐินในวัดที่จะทอดนั้น เช่น ในชนบทตอนเย็น ก็แห่งองค์พระกฐินไปตั้งที่วัด กลางคืนมีการฉลองรุ่งขึ้น เลี้ยงพระเช้าแล้ว ทอดกฐิน ถวายภัตตาหารเพล
การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้ากฐินนั้น คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพ อุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผ้าไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้

พิธีกรานกฐิน
พิธิกรานกฐินเป็นพิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะคือภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้นนำผ้ากฐินไปทำ เป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อม แห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระอุโบสถ ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร เสร็จแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา กล่าวคือเรื่องประวัติกฐินและอานิสงส์ครั้งแล้วภิกษุผู้รับผ้ากฐิน นั่งคุกเข่าตั้งนะโม 3 จบ แล้วเปล่งวาจาในท่ามกลางชุมนุมนั้น ตามลักษณะผ้าที่กรานดังนี้
ถ้าเป็นผ้าสังฆาฏิ เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมายสงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสัมฆาฎินี้ (ในเวลาว่านั้นไม่ต้องว่าคำแปลนี้) 3 จบ
ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงคเปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินาอุตฺตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าจ้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอุตตราสงค์นี้ 3 จบ
ถ้าเป็นผ้าอันตรวาสก (สบง) เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินา อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอันครวาสกนี้ 3 จบ
ลำดับนั้น สงฆ์นั่งคุกเข่าพร้อมกันแล้วกรานพระ 3 หนเสร็จแล้ว ตั้งนโมพร้อมกัน 3 จบ แล้วท่านผู้ได้รับผ้ากฐินหันหน้ามายังกลุ่มภิกษุสงษ์ กล่าวคำอนุโมทนาประกาศดังนี้
"อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบ (แปลว่า อาวุโส! กฐินสงฆ์กราบแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าขออนุโมทนา)
คำว่า อาวุโส นั้น ถ้ามีภิกษุอื่นซึ่งมีพรรษามากกว่าภิกษุผู้ครองกฐินแม้เพียงรูปเดียวก็ตาม ให้เปลี่ยนเป็น ภนฺเต
ต่อนั้น สงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ พร้อมกันแล้วให้ภิกษุทั้งปวง อนุโมทนาเรียงองค์กันไปทีละรูป ๆ ว่า "อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินฺ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบสงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ ทำดังนี้ จนหมดภิกษุผู้ประชุมอนุโมทนา
(ถ้าผู้อนุโมทนา มีพรรษษแก่กว่าสงฆ์ทั่งปวง ให้เปลี่ยนคำว่า ภนฺเต เป็น อาวุโส)
ในการว่าคำอนุโมทนานี้พึงนั่งคุกเข่าประนมมือเสร้จแล้วจึงนั่งพับเพียงลง
เมื่อเสร็จแล้ว ให้นั่งพร้อมกันคุกเข่าประนมมือ หันหน้าตรงต่อพระพุทธปฏิมา ว่าพร้อมกันอีก 3 จบ แต่ให้เปลี่ยนคำว่า อนุโมทามิ เป็น อนุโมทาม เป็นอันเสร็จไปชั้นหนึ่ง
ต่อแต่นั้นกราบพระ 3 หน นั่งพับเพียบ สวดปาฐะและคาถาเนื่องด้วยกรานกฐิน จบแล้วก็เป็นเสร็จพิธีการกรานกฐินอานิสงส์กฐินสำหรับพระ

ในพระวินัย ระบุอานิสงส์กฐินไว้ 5 คือ
1. เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาภิกษุด้วยกัน
2. เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำรับได้
3. ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้
4. เก็บจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
5. ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำพรรษาในวัดนั้น

คำถวายผ้ากฐินอย่างมหานิกาย
อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม (ว่า 3 หน) แปลว่า "ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์"
คำถวายผ้ากฐิน อย่างธรรมยุตติกนิกาย
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินนทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย
แปลว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐิน พร้อมทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และครั้นรับแล้วขอจงกรานกฐินด้วยผ้านเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน

ในการทอดกฐินนี้ ยังมีกฐินและข้อพิเศษที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย คือ 1. จุลกฐิน 2.ธงจระเข้
1. จุลกฐิน มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บผ้ายมากรอเป็นด้วย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว
"วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน 12 คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน 12 อันเป็นที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นเช่นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่" (จากวิธีทำบุญ ฉบับหอสมุด หน้า 119)
2. ธงจระเข ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ 1. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลี่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงานทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัง คงหวั่นจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยกรานกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว
2. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้ 


ประวัติของกฐิน
ประวัติของกฐินนั้นมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป มีความประสงค์จะไปเฝ้าพระพุทะเจ้า ณ เมืองสาวัตถี จึงพากันเดินทางจากเมืองปาฐาไปสาวัตถี แต่พอไปถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ในระยะทางอีก ๖ โยชน์จะถึงสาวัตถี ก็เผอิญถึงวันเข้าพรรษาภิกษุเหล่านั้นจะเดินทางต่อไปไม่ได้ จึงจำพรรษาอยู่ในเมืองสาเกต ในระหว่างจำพรรษามีความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยเร็ว พอออกพรรษาก็ออกเดินทางจากเมืองสาเกต ในเวลานั้นฝนยังตกมากอยู่ ทางเดินก็เป็นโคลนตมเปรอะเปื้อน เมื่อมาถึงเมืองสาวัตถีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบความลำบากของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำพิธีกรานกฐิน ในระยะเวลาภายหลังวันออกพรรษาแล้วไป ๑ เดือน ภิกษุที่ได้ทำพิธีกรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ คือความยกเว้นในการผิดวินัย ๕ ประการ เป็นเวลา ๔ เดือน (หมดเขตในวันเพ็ญเดือนสี่) อานิสงส์หรือความยกเว้นทั้ง ๕ ประการนั้น คือ
๑. เข้าบ้านได้โดยไม่ต้องลาภิกษุด้วยกัน
๒. เดินทางโดยไม่ต้องเอาไตรจีวรไปด้วย
๓. ฉันอาหารโดยล้อมวงกันได้
๔. เก็บอาหารที่ยังไม่ต้องการใช้ ไว้ได้
๕. ลาภที่เกิดขึ้น ให้เป็นของภิกษุผู้จำพรรษาในวัดนั้น ซึ่งได้กรานกฐินแล้ว
ที่กล่าวนี้เป็นประวัติของกฐิน ซึ่งเก็บความจากพระบาลี แต่ข้อความที่กล่าวข้างต้นนี้ยังเข้าใจยาก และไม่แลเห็นว่าเหตุผลเนื่องถึงกันอย่างไร ฉะนั้นจึงต้องอธิบายขยายความสักเล็กน้อย
ตามหลักวินัย ภิกษุจะเข้าบ้านต้องบอกลากัน จะเดินทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบชุดเวลาฉันอาหารต้องนั่งเรียงกัน จะล้อมวงกันไม่ได้ จึงที่เหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน ลาภที่เกิดขึ้นต้องให้แก่ภิกษุผู้มีอาวุโส คือที่บวชนานที่สุด ข้อบังคับเหล่านี้ ย่อมเป็นความลำบากแก่ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก เช่นการเข้าบ้านต้องบอกลากันเสมอไปนั้น ถ้าเผอิญอยู่คนเดียว ไม่มีใครจะรับลา ก็เข้าบ้านไม่ได้ การเดินทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบ หมายความว่าต้องเอาผ้านุ่งห่มไปให้ครบชุด คือ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อนผ้าห่ม) ในครั้งก่อน ภิกษุไม่มีโอกาสได้ผ้าบางเนื้อละเอียดอย่างสมัยนี้เสมอไป ถ้าไปได้ผ้าเปลือกไม้หรือผ้าอะไรชนิดหนา การที่จะนำเอาไปด้วยนั้นไม่เป็นการง่าย ภิกษุ ๓๐ รูปที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ได้รับความลำบากในเรื่องนี้มาแล้ว การห้ามฉันอาหารล้อมวง และบังคับให้นั่งเรียงกันฉันอาหารนั้น ถ้ามีอาหารน้อยก็ทำความลำบาก เราทราบอยู่แล้วว่าการรับประทานแยกกันย่อมปลีกอาหารมากกว่าการรับประทานรวมกัน เรื่องนี้ภิกษุ ๓๐ รูป ที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็คงได้รับประสบความลำบากเรื่องนี้มา ในระหว่างทางเหมือนกัน เรื่องจีวรที่ไม่ต้องการใช้นั้น ในชั้นเดิมเป็นความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า ที่จะไม่ให้พระภิกษุเก็บสะสมทรัพย์สมบัติ ถ้ามีอะไรเหลือใช้ จะเก็บไว้ไม่ได้ ต้องให้คนอื่นเสีย โดยเฉพาะเรื่องจีวรนี้มีบัญญัติว่า ถ้ามีจีวรเหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน พัน ๑๐ วันไปแล้วต้องสละให้คนอื่นไป ถ้าจะไม่สละต้องทำพิธี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเรียกว่า วิกัปคือไปทำความตกลงกับภิกษุอีกรูปหนึ่งให้เป็นเจ้าของจีวรด้วยกัน แล้วมอบให้ตนเก็บไว้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า อธิษฐานคือถ้าจีวรที่เหลือใช้นั้นใหม่กว่าของที่ใช้อยู่ ก็เอามาใช้เสีย แล้วสละของเก่าให้คนอื่นไป การห้ามกวดขันไม่ให้เก็บผ้าจีวรไว้เกินต้องการเช่นนี้ ในบางครั้งก็เกิดความลำบากเช่น ถูกขโมยลักจีวร ซึ่งเคยถูกกันมามากในครั้งพุทธกาล หรือมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้จีวรนั้นใช้ไม่ได้ ก็ไม่มีสำรองเสียเลย ในเรื่องลาภที่เกิดขึ้นในวัดนั้น มีข้อบังคับกวดขันว่าให้ได้แก่ภิกษุที่มีพรรษายุกาลมากที่สุด คือที่บวชก่อนคนอื่น ในเรื่องนี้ทำความเดือดร้อนหลายครั้ง เช่นภิกษุอยู่ในวัดเดียวกัน อดอยากมาด้วยกัน มีผู้เอาของมาถวาย และในวันที่มีผู้เอาของมาถวายนั้น เผอิญมีภิกษุจรมาพักอยู่ในวัดนั้นด้วย และภิกษุจรมีพรรษายุกาลมากกว่าภิกษุที่อยู่ในวัด ลาภนั้นก็ต้องตกเป็นของภิกษุที่จรมา ส่วนภิกษุที่อยู่ในวัดก็ไม่มีส่วนได้
ความขัดข้องลำบากเกิดจากทางวินัยอย่างนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงเห็นมานานแล้ว แต่วินัยของพระพุทธเจ้าไม่เหมือนกฎหมาย คือกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว ถ้ารู้สึกว่าไม่ดีก็ประกาศเลิก และบัญญัติใหม่ ส่วนวินัยของพระพุทธเจ้าประกาศเลิกไม่ได้ ได้แต่งดชั่วคราว หรือมีข้อยกเว้นพิเศษให้ เมื่อได้ทรงเห็นความลำบากของภิกษุที่มาเฝ้า ทรงเห็นชัดว่าควรให้ความยกเว้นในเรื่องหอบหิ้วเอาไตรจีวรมา และทรงยกเว้นในข้อนี้ ก็เลยทรงประทานข้อยกเว้นอื่น ๆ ที่ทรงดำริมาแล้วแต่ก่อนด้วย จึงเกิดมีข้อยกเว้นขึ้น ๕ ข้อดังกล่าวมาข้างต้น
แต่การที่งดใช้วินัยชั่วคราว หรือให้ความยกเว้นเป็นพิเศษนั้น จะให้กันเฉยๆ ไม่ได้ พระภิกษุต้องได้ทำความดีอันใดอันหนึ่ง จึงจะได้รับความยกเว้น ฉะนั้นการที่จะให้ภิกษุได้รับความยกเว้นในข้อนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้มีพิธีกรานกฐิน พิธีกรานกฐินต้องถือเป็นความดีความชอบอย่างหนึ่ง เพราะการทำจีวรในสมัยนั้นไม่ใช่ของง่าย ๆ ตามปกติเวลามีการทำจีวร ภิกษุย่อมได้รับความยกเว้นในวินัยหลายข้ออยู่แล้ว เมื่อต้องมาทำจีวรโดยรีบร้อนให้เสร็จในวันเดียว และตกเป็นสมบัติของคณะสงฆ์อีกเช่นนี้
ดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลี่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงานทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัง คงหวั่นจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยกรานกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว
2. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้ 

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สวัสดีครับ....











เกล้ากระผม ด.ช.ยศกร สะระชนะ ม.3/5 เลขที่ 22

ชื่อเล่น หนึ่ง โย่วๆๆ...

โรงเรียน บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

สิ่งที่ชอบ :บ้า เกรียน

สิ่งที่ไม่ชอบ : ไม่รู้....

ที่อยู่ : บ้าน 55555+

เกิดวันที่ 21 มกราคม 2541

คำที่ชอบพูด : จุงเบยยย

คนที่แอบชอบ : ไม่บอก 5555555555+

ชื่อที่เพื่อนชอบเรียก : ณเดช โดม บลาๆๆๆ...5555+

รายละเอียด
เป็นคน(รึเปล่า5555+) เกิดในดินแดนอันแสนลึกลับ จุดมุ่งหมายในชีวิต เพื่อสู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้น 55555+ นิสัย ปอยอย บ้า เกรียน เป็นคนขำขัน(ตอนเข้าห้องน้ำไปเจอขัน ขำใหญ่เลย 555555+) ไร้สาระ เอาแน่เอานอนไม่ได้555555+ งานอดิเรกฟังเพลง อ่านการ์ตูน ท่องเว็ป(อะไรก็ไปคิดเอาเอง 55555+)

facebook:http://www.facebook.com/neungz.pasteurize/



.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
จบ....


เม้นให้ด้วยจะขอขอบคุณเป็นอย่างสูงงงงงง-/\-