วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันพ่อแห่งชาติ

 วันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2555 ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ
ความหมาย ๑พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "พ่อ" ไว้ดังนี้
      -พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก. คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน

๒พุทธศาสน
า ได้ให้ความหมายชองคำว่า "พ่อ" หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น
     -บิดา (พ่อ)
     -ชนก (ผู้ให้กำเนิด)
      -สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น
 
ความเป็นมาของวันพ่อ วัน พ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์  เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม
 
หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดย ที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาว ไทยนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุก พระองค์ ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ ดังบทร้อยกรองเทิดพระเกียรติว่า
 
"อันราชาเลี้ยงรักษาซึ่งทวยราษฎร์  ประดุจเป็นปิตุราชอยู่ทุกเมื่อ
 
   ควรที่บุตรสุดรักจักจุนเจือ  พระคุณนั้นให้อะเคื้อด้วยภักดี"
 
และอีกบทหนึ่งเทิดพระเกียรติว่า
"ทุกบุปผามาลัยคือในราษฎร์  ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน
    พระคือบิดาข้าแผ่นดิน   ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร

ลุ ๕ ธันวามหาราช
 "วันพ่อแห่งชาติ" คือองค์อดิศร

พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน"

คณะกรรมการจัดงานวันพ่อแห่งชาติได้กำหนดให้ ดอกพุทธรักษา ดอกไม้ที่มีนามเป็นมงคลนี้เป็นสัญลักษณ์

วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ

 ๑.เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๒.เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม

๓.เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูต่อพ่อ

๔.เพื่อให้ผู้เป็นพ่อสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น